การทดสอบปริมาณสารระเหยฟอร์มัลดีไฮด์จากไม้ประกอบ
(Testing of Formaldehyde Emission from Wood Composites)
1. EN 120 (Perforator method) |
![]() |
► คือ การวัดปริมาณฟอร์มัลดีไฮด์ทั้งหมดที่มีอยู่ภายในชิ้นตัวอย่างไม้ประกอบโดยใช้โทลูอีนสกัดเอาฟอร์มัลดีไฮด์ออกมา
► นำฟอร์มัลดีไฮด์ที่สกัดได้ไปตรวจสอบด้วย photometric method
► ผลที่ได้แสดงถึงปริมาณของฟอร์มัลดีไฮด์ที่พบในชิ้นตัวอย่างไม้ประกอบแห้งหนัก 100 กรัม
► ค่าที่วัดได้จะขึ้นอยู่กับปริมาณความชื้นของชิ้นตัวอย่างไม้ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องปรับค่าดังกล่าวไว้ที่ปริมาณความชื้นของชิ้นทดสอบเท่ากับ 6.5% ตามที่มาตรฐานกำหนด
► เป็นวิธีที่ได้รับการยอมรับและใช้กันอย่างแพร่หลายทั้งในระดับห้องปฏิบัติการและอุตสาหกรรม สามารถใช้ตรวจสอบคุณภาพและแบ่งระดับชั้นของผลิตภัณฑ์
► ข้อจำกัด คือ การใช้โทลูอีนซึ่งเป็นสารที่ก่อให้เกิดปัญหากับสิ่งแวดล้อม และราคาของเครื่องมือที่สูงเมื่อเปรียบเทียบกับมาตรฐานอื่น
2. JIS A 1460 (Desiccator method) |
![]() |
► นำชิ้นตัวอย่างขนาดกว้างและยาวเท่ากับ 15 x 5 ซม. (มีพื้นที่ผิวรวมกันทั้งหมดประมาณ 1,800 ซม.2) ไปไว้ในโถแก้วขนาด 9 – 11 ลิตร โดยภายในโถบรรจุน้ำอยู่ภายในภายใต้สภาวะควบคุม คือ อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลา 24 ชั่วโมง |
3. JAS 233 (Desiccator method) |
![]() |
► เป็นการทดสอบปริมาณสารระเหยฟอร์มัลดีไฮด์จากไม้อัด (Plywood)
► กำหนดขนาดชิ้นตัวอย่าง กว้าง 5 ซม. ยาว 15 ซม.
► จำนวนชิ้นตัวอย่าง 10 ชิ้น/ 1 ชุดการทดสอบ
► ควบคุมอุณหภูมิในการทดสอบเท่ากับ 20 องศาเซลเซียส
4. EN 717-3 (Flask method) |
![]() |
► คือ การวัดฟอร์มัลดีไฮด์ที่ระเหยออกมาจากกลุ่มผลิตภัณฑ์แผ่นไม้ประกอบที่ไม่ผ่านการเคลือบหรือปิดผิวหน้า |